โรคสุกร
ในการเลี้ยงสุกรทั่วๆ ไป ปัจจัยสำ คัญที่มีผลต่อกำ ไร ขาดทุนของเกษตรกรคือ การควบคุมป้องกันและรักษาโรค ถ้าสามารถควบคุมป้องกันโรคไม่ให้เกิด หมั่นดูแลเอาใจใส่ในด้านการจัดการฟาร์มให้มีการสุขาภิบาลที่ดี ทำ วัคซีนตามโปรแกรมที่กำ หนด จะทำ ให้สุกรมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ มีผลให้จำ หน่ายได้ราคาดี
เราได้รวบรวมโรคของสุกรที่มักเกิดในฟาร์มเลี้ยงสุกร ตลอดจนวิธีการควบคุมป้องกันและรักษาโรคสุกรมาให้ท่านได้ศึกษาดูเพื่อเป็นประโยชน์ต่อท่านที่ต้องการเลี้ยงสุกร
โรค คือสภาวะของร่างกายสัตว์ที่ไม่ทำ หน้าที่ตามปกติ เช่นตับไม่ทำ งานหรือทำ งานน้อยก็บอกว่าป่วยด้วยโรคตับ หรือปอดทำ งานได้น้อย ก็บอกว่าป่วยด้วยโรคปอด หรืออวัยวะหลายๆอวัยวะของร่างกายไม่ทำ งานเพราะเชื้อโรคกระจายไปทั่วร่างกาย ซึ่งเราเรียกสภาวะนี้ว่า “สภาวะโลหิตเป็นพิษ” โรคที่สามารถทำ ให้เกิดสภาวะโลหิตเป็นพิษในสุกรได้แก่โรคอหิวาต์สุกร โรคปากเท้าเปื่อยโรคพิษสุนัขบ้าเทียม โรคลำ ไส้อักเสบติดต่อ โรคไฟลามทุ่งและโรคซัลโมแนลโลซีส เป็นต้นการที่สุกรป่วยนั้น มีหลายสาเหตุด้วยกัน ได้แก่ อวัยวะของร่างกายสุกรไม่ทำ งานตามปกติ ร่างกายสุกรขาดสารอาหาร เซลของร่างกายสุกรเจริญผิดปกติ ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ สารพิษหรือยาพิษ หรือเชื้อโรค สำ หรับสาเหตุที่เกิดจากเชื้อโรคนั้นสำ คัญมากในสุกรเพราะเป็นสาเหตุที่ทำให้สุกรตายได้มากกว่าสาเหตุอื่นๆสาเหตุเชื้อโรคที่ทำ ให้เกิดโรคแก่สุกรนั้น ได้แก่
1. เชื้อไวรัสส่วนมากไม่มียารักษาและมักเป็นปัญหาของโรคระบาดในสุกร ซึ่งได้แก่ โรคอหิวาต์สุกร โรคปากเท้าเปื่อย โรคพิษสุนัขบ้าเทียม และโรคลำไส้อักเสบติดต่อกันเป็นต้น
2. เชื้อแบคทีเรียส่วนมากใช้ยารักษาได้และมักพบเป็นปัญหาของโรคที่พบในการเลี้ยงสุกร เช่น โรคข้อบวมในลูกสุกร โรคมดลูกอักเสบ โรคเต้านมอักเสบ โรคบาดทะยัก โรคติดเชื้อทางระบบหายใจและโรคท้องเสีย เป็นต้น สำ หรับที่พบเป็นปัญหาของโรคระบาดได้แก่ โรคโพรงจมูกอักเสบติดต่อ โรคไฟลามทุ่ง และโรคแท้งติดต่อ เป็นต้น
3. เชื้อมายโคพลาสม่ายาสามารถรักษาได้และมักพบเป็นปัญหาของโรคทางระบบหายใจ (โรคปอดบวม)
4. เชื้อโปรโตซัวยาสามารถรักษาได้และมักพบเป็นปัญหาของโรคทางเดินอาหาร (ท้องเสีย)
5. เชื้อสไปโรขีดยาสามารถรักษาได้และมักพบเป็นปัญหากับระบบสืบพันธุ์และทางเดินอาหาร
6. เชื้อราจะสร้างสารพิษที่เป็นอันตรายต่อตัวสุกร ซึ่งสารพิษนี้ไม่มียาทำ ลายได้
7. พยาธิภายในและนอก
ยาสามารถรักษาได้เมื่อเชื้อโรคที่กล่าวมาแล้วทั้ง 7 กลุ่ม ผ่านเข้าสู่ร่างกายสุกรซึ่งก็อาจโดยทางบาดแผลที่ผิวหนัง หรือผนังทางเดินหายใจ หรือผนังทางเดินอาหาร หรือรูเปิดธรรมชาติของร่างกายเช่นเยื่อบุตา หู จมูกและปาก เป็นต้น ร่างกายสุกรก็จะพยายามฆ่าหรือทำ ลายเชื้อโรคเหล่านั้นโดยอาศัยระบบต่อต้านของร่างกาย และถ้าเชื้อโรคสามารถหนีพ้นระบบต่อต้านและกำ จัดเชื้อโรคของร่างกายสุกรได้ เชื้อโรคก็จะเคลื่อนเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งเรียกสภาวะนี้ว่า “โลหิตเป็นพิษ” อาการที่พบได้จากสุกรป่วย คือ ไข้สูง เจ็บปวด ไม่กินอาหารและอ่อนแอ เป็นต้น
การดูแลรักษาและการช่วยสุกรป่วยเราสามารถจะช่วยให้สุกรป่วยคืนจากโรคได้โดย
1. ให้สุกรป่วยอยู่ในคอกที่สะอาด อบอุ่น และแห้ง
2. ให้อาหารที่มีคุณค่าของโปรตีนสูง ถ้าสุกรไม่กินอาหารควรให้ยากระตุ้นการกินอาหาร เช่น ไวตามินบี 12 เป็นต้น และถ้าร่างกายสูญเสียนํ้ามากเนื่องจากขี้ไหลหรืออาเจียน ควรให้นํ้าเกลือแก่สุกรป่วย
3. ใช้ยารักษาที่ตรงกับโรคและปริมาณถูกต้องตามที่แนะนำ มิฉะนั้นจะเสียเงินเปล่าและยังทำ ให้เกิดปัญหาเชื้อโรคดื้อยา ยาที่ใช้รักษาโรคสุกร มีอยู่หลายชนิดได้แก่ ยาปฏิชีวนะ ยาซัลโฟนามาย ยาสังเคราะห์ ยาฆ่าพยาธิภายในและยาฆ่าพยาธิภายนอก
4. สุกรที่ป่วยเนื่องจากได้รับเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่ไม่มียาฆ่าได้ ทั้งนี้เพราะเนื้อมีขนาดเล็กและอาศัยอยู่ในเซลของร่างกายสุกร ดังนั้นสุกรป่วยด้วยเชื้อไวรัสจะฟื้นจากโรคได้ก็โดยอาศัยระบบต่อต้านของร่างกาย และควรให้ยาปฏิชีวนะหรือยาซัลโฟนามายหรือยาสังเคราะห์เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน
เชื้อโรคจะแพร่จากสุกรป่วยตัวหนึ่งไปยังอีกตัวหนึ่งได้โดยทาง
1. นํ้ามูกจากจมูก
2. ลมหายใจจากปอด
3. นํ้าลายจากปาก
4. บาดแผลทางผิวหนัง
5. ปัสสาวะและอุจจาระ
6. นํ้าเมือกจากช่องคลอด
7. เลือด
โรคที่สำคัญของสุกร
โรคสุกรที่พบได้ในฟาร์มเลี้ยงสุกรของประเทศไทยนั้น มีทั้งโรคระบาด (คือโรคที่สามารถแพร่จากสุกรป่วยตัวหนึ่งไปยังสุกรตัวอื่นได้อย่างรวดเร็ว) และโรคไม่ระบาด (คือโรคที่ไม่สามารถแพร่จากสุกรป่วยตัวหนึ่งไปยังสุกรตัวอื่นๆ หรือเป็นโรคเฉพาะตัว) ได้แก่
- โรคอหิวาต์สุกร
- โรคปากและเท้าเปื่อย
- โรคกระเพาะอาหารและลําไส้อักเสบติดต่อ (โรค ที-จี-อี)
- โรคพิษสุนัขบ้าเทียม
- โรคไข้หวัดใหญ่
- โรคฝีดาษ
- โรคโพรงจมูกอักเสบติดต่อ
- โรคไฟลามทุ่ง
- โรคซัลโมแนลโลซีสหรือโรคพาราไทยฟอยด์
- โรคบิดมูกเลือด
- โรคพลาสเทอร์โรซีส
- โรคบาดทะยัก
- โรคท้องเสียในลูกสุกรที่เกิดจากเชื้ออี. โคไล
- โรคข้อบวมในลูกสุกร
- โรคเอนซูติกนิวโมเนีย