โรคซัลโมแนลโลซีสหรือโรคพาราไทยฟอยด์
โรคนี้เป็นโรคระบาดที่พบเกิดขึ้นได้กับสุกรทุกอายุอัตราการเกิดโรคและอัตราการตายสูง
สาเหตุและอาการของโรค
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อตัวนี้จะเข้าสู่ร่างกายสุกรได้โดยการกินอาหาร และนํ้าที่มีเชื้อโรคตัวนี้ปนอยู่ หรือโดยการกินกระดูกป่นที่มีเชื้อตัวนี้ปนอยู่หรือโดยการสัมผัสกับสัตว์ฟันแทะ หรือนกป่าที่เป็นตัวพาโรคนี้ และเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะใช้เวลาในการฟักโรคนานประมาณ 1-2 วัน สุกรจะแสดงอาการป่วยให้เห็นอาการป่วยที่พบได้มีอยู่ 4 แบบด้วยกัน
1. แบบแรก มักพบเป็นกับลูกสุกร โดยอาการป่วยจะเกิดแบบฉับพลัน ไข้สูง 105-107 องศาฟาเรนไฮต์สุกรจะซึมและตายภายใน 24-48 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังพบว่าผิวหนังมีสีแดงเข้มจนถึงสีม่วง โดยเฉพาะที่ขอบตาและใต้ท้อง อาการทางประสาทอาจพบ และอัตราการตายพบได้สูงถึง100 เปอร์เซ็นต์
2. แบบที่สอง มักพบกับสุกรที่มีอายุมากหรือสุกรใหญ่ อาการที่พบได้คือ ไข้สูง 105-107 องศาฟาเรนไฮต์ ท้องเสียเป็นนํ้าอย่างรุนแรง อุจจาระมีกลิ่นเน่า เป็นมูกและอาจพบเยื่อเมือกของลําไส้ปนด้วย
3.แบบที่สาม อาการที่พบได้คือ ไข้สูง 103-104 องศาฟาเรนไฮต์ อุจจาระนิ่ม เบื่ออาหาร และบางรายพบอาการสูญเสียนํ้า เช่น ผิวหนังขาดความยืดหยุ่น ตาจมลึก ขนลุก ซูบผอมลงเรื่อยๆ และตายในที่สุด
4.แบบที่สี่ แบบนี้พบว่าสุกรเป็นมาก อาการที่พบได้คือ ท้องเสีย โดยพบเป็นๆ หายๆไข้ไม่คงที่ ผอมแห้ง และตอบสนองต่อการรักษาได้น้อย (อุจจาระอาจปกติหรืออาจมีมูกหรือเลือดปน)
การป้องกัน
โรคซัลโมแนลโลซีสหรือโรคพาราไทฟอยด์สามารถป้องกันได้โดย
1. กําจัดสุกรที่เป็นตัวอมโรค
2. มีการกักโรคและตรวจโรคสุกรใหม่
3. มีการจัดการควบคุมโรคที่เข้มงวด
4. ระวังการใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์จากโรงฆ่า
5. มีการสุขาภิบาลที่ดี
การรักษา
โรคซัลโมแนลโลซีสเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ยาที่จะใช้รักษาโรคนี้ได้ ได้แก่ยาปฏิชีวนะ
เช่น ยานีโอมัยซิน หรือยาเตตร้าไซคลิน หรือยาซัลโฟนามาย หรือยาไนโตรฟูราโซน