โรคบาดทะยัก

โรคนี้พบเป็นได้ง่ายกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยเฉพาะม้า

สาเหตุและอาการของโรค
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อตัวนี้สามารถพบได้ในดิน ลําไส้ของคนและสัตว์เชื้อนี้จะเข้าสู่ร่างกายสุกรได้โดยทางบาดแผลและสามารถจะเจริญเติบโตได้ในที่ที่ไม่มีออกซิเยน โดยเชื้อนี้จะใช้เวลาในการฟักโรค โดยทั่วไปประมาณ 10-14 วัน สุกรก็จะเริ่มแสดงอาการป่วยของโรคให้เห็น




อาการที่พบ
ได้คือ เกิดการแข็งตัวของกล้ามเนื้อบริเวณแก้ม คอ ขาหลัง และบริเวณที่มีการติดเชื้อ หลังจากนั้นจะพบอาการกระตุก และไวต่อการแสดงออก การเคี้ยวอาหารลําบาก หางแข็ง หัวและคอยืด และขาแข็งแกร่ง

การป้องกัน
โรคบาดทะยักสามารถป้องกันได้โดย
1. โรคนี้เกิดจากเชื้อโรคเข้าบาดแผล ฉะนั้น การตัดสายสะดือและการตอนต้องทําด้วยความสะอาด
2. ภายหลังการผ่าตัดหรือการตอน ควรให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันโรคบาดทะยัก
3. มีการสุขาภิบาลที่ดี
การรักษา
โรคบาดทะยักเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ยาที่ใช้รักษาโรคนี้ได้แก่
1. ยาปฎิชีวนะเช่น ยากลุ่มเพ็นนิซิลิน
2. หรือให้ยาแอนตี้ท็อกซิน
3. หรือให้ยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์การทําลายกว้าง เช่น ยาคลอแรมเฟนนิคอล หรือยาคลอเตตร้าไซคลิน เป็นต้น