โรคบิดมูกเลือด
โรคนี้เป็นโรคระบาดทางเดินอาหาร ที่เกิดขึ้นได้กับสุกรทุกอายุ อัตราการเกิดโรคสูงแต่อัตราการตายตํ่า
สาเหตุและอาการของโรค
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียร่วมกับเชื้อสไปโรขีด และยังมีสาเหตุโน้มนําของโรคนี้คือการจัดการฟาร์มที่ไม่เหมาะสม ซึ่งเชื้อโรคตัวนี้จะเข้าสู่ร่างกายสุกรได้โดยการกินอาหารและนํ้าที่มีเชื้อปนอยู่ หรือโดยการสัมผัสกับสุกรป่วยโดยตรงหรือสุกรที่เป็นพาหนะของโรค และเมื่อสุกรได้รับเชื้อโรคตัวนี้เข้าสู่ร่างกายแล้ว เชื้อโรคตัวนี้จะใช้เวลาในการฟักโรคโดยทั่วๆ ไปประมาณ 10-14 วัน สุกรก็จะเริ่มแสดงอาการป่วยของโรคให้เห็น
อาการที่พบเห็นได้มีอยู่ 2 แบบด้วยกัน
1. แบบแรก อาการของโรคจะเกิดแบบฉับพลันโดยจะพบสุกรป่วยทีละตัวสองตัว และอาการของโรคที่พบไม่เด่นชัด คือสุกรป่วยจะกินอาหารน้อยลง อุจจาระอาจจะเหลวหรือเป็นก้อนเหมือนปกติ แต่ต่อมาอุจจาระจะเหลวมีสีเหลืองจนถึงสีเทา และในที่สุดอุจจาระจะเหลวเป็นเลือดสดและมีมูกซึ่งเป็นลักษณะเด่นของโรค อาการป่วยแบบแรกนี้มักพบว่าเป็นกับสุกรภายหลังหย่านมแล้ว 2 หรือ 3 สัปดาห์
2. แบบที่สอง อาการของโรคเป็นแบบเรื้อรังคือจะพบอาการอุจจาระเหลวสีเทาและมีเยื่อบุผิวของลําไส้ปนออกมา แต่ไม่มีเลือดปนออกมากับอุจจาระสุกรป่วยที่ฟื้นจากโรคหรือป่วยแต่ไม่แสดงอาการของโรค พบว่าสุกรสามารถปล่อยเชื้อโรคออกมากับอุจจาระได้
การป้องกัน
โรคบิดมูกเลือก สามารถป้องกันได้โดย
1. กําจัดสุกรที่เป็นพาหะของโรค
2. มีการกักและตรวจโรคสุกรใหม่
3. มีการเลี้ยงดูและอาหารที่ดี
4. มีการสุขาภิบาลที่ดี
การรักษา
โรคบิดมูกเลือดเกิดจากเชื้อแบคทีเรียร่วมกับเชื้อสไปโรขีด ยาที่จะใช้รักษาโรคนี้ได้ ได้แก่ ยาปฏิชีวนะ เช่น ยาลินโคมัยซิน ยาไทโลซิน ยาแบคซิทราซินหรือยาคลอเตตร้าไซคลิน หรือยากลุ่มสังเคราะห์เช่น ยาฟูราโซลิโดน โรนิดาโซน ไดเมทไตรดาโซน หรือคาร์บาด็อก นอกจากให้ยาไปกําจัดเชื้อโรคแล้ว อาหารที่ให้สุกรป่วยควรมีพลังงานตํ่า แต่มีเยื่อใยสูง และควรให้สารอิเลคโทรไลท์ผสมนํ้าให้สุกรกินจะช่วยลดความรุนแรงของโรคลงได้