โรคพิษสุนัขบ้าเทียม
โรคนี้เป็นโรคระบาดพบว่าเป็นได้กับสุกรทุกอายุ แต่ความรุนแรงของโรคจะเกิดกับลูกสุกร และสุกรเล็ก อัตราการเกิดโรคและอัตราการตายสูง และสุกรที่ฟื้นจากโรคจะเป็นพาหนะของโรคและสามารถปล่อยเชื้อโรคออกมากับลมหายใจ
สาเหตุและอาการของโรค
เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งเชื้อโรคตัวนี้จะเข้าสู่ร่างกายสุกรได้โดยการสัมผัสกับสุกรตัวที่เป็นพาหนะของโรคนี้ หรือโดยการกินอาหารหรือนํ้าที่มีเชื้อนี้ปนอยู่หรือโดยการหายใจเอาเชื้อนี้เข้าไป หรือโดยการผสมพันธุ์กับสุกรที่เป็นโรคนี้ หรือโดยทางเยื่อบุตา (หนูบ้านสามารถแพร่เชื้อโรคตัวนี้ได้) และเมื่อเชื้อโรคตัวนี้เข้าสู่ร่างกายสุกรแล้วโรคนี้จะใช้เวลาในการฟักโรคนานประมาณ 36-48 ชั่วโมง สุกรก็จะเริ่มแสดงอาการปวยของโรคนี้ให้เห็น ซึ่งอาการที่สุกรป่วยแสดงออกนั้นขึ้นอยู่กับอายุคืออาการจะรุนแรงในลูกสุกรแรกคลอด โดยลูกสุกรป่วยจะล้มลงภายในไม่กี่ชั่วโมงภายหลังจากการติดเชื้อ มีไข้สูงถึง180 องศาฟาเรนไฮต์หรือ 42 องศาเซลเซียส สุกรควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ ตื่นเต้น กล้ามเนื้อกระตุกอย่างแรง แล้วล้มลงโดยขาอยู่ในลักษณะถีบจักรยาน (อาจพบอาการอาเจียนและท้องเสียได้) และนํ้าลายฟูมปาก
ลูกสุกรอาจได้รับเชื้อตัวนี้ก่อนคลอด ซึ่งจะพบลูกสุกรตายภายใน 2 วันหลังคลอด และลูกสุกรที่ได้รับเชื้อตัวนี้ทันทีที่คลอดออกมา อาจแสดงอาการให้เห็นเมื่ออายุ 2 วัน และมักตายเมื่ออายุ5 วัน และพบว่าอัตราการตายของลูกสุกรที่มีอายุตํ่ากว่า 2 สัปดาห์จะสูงถึง 100 เปอร์เซ็นต์และอัตราการตายของลูกสุกรที่มีอายุมากกว่า 3 สัปดาห์ขึ้นไปจะลดลงประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากความสามารถในการต้านโรคมีมากขึ้น เมื่อสุกรโตขึ้นและอัตราการตายจะลดลงเหลือเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ในสุกรที่มีอายุ 5 เดือนขึ้นไป
อาการที่พบได้ในสุกรรุ่นที่ป่วยคือ มีไข้สูง เบื่ออาหาร ไม่อยู่นิ่ง หายใจลําบากตัวสั่นและควบคุมตัวไม่ได้โดยเฉพาะส่วนของขาหลัง และสุกรป่วยจะชักตายในที่สุด (สุกรรุ่นที่ฟื้นจากโรคมักจะแคระแกรน)
สภาพอาเจียน (เป็นนํ้าดี) อาจพบได้ในช่วงท้ายๆ
ก่อนตายในลูกสุกรดูดนม ที่เป็นโรค
อาการป่วยที่พบในสุกรใหญ่ มักจะไม่รุนแรง อาการที่พบได้คือ อาเจียน ท้องเสียหรือท้องผูก
อาการป่วยที่พบได้ในสุกรท้อง คือ แท้งลูก
สุกรป่วยที่ฟื้นจากโรคนี้ พบว่ามีภูมิคุ้มกันสูงซึ่งอาจอยู่ได้เป็นปี และแม่สุกรสามารถถ่ายภูมิคุ้มกันโรคนี้ให้แก่ลูกสุกรได้โดยทางนํ้านมเหลือง ซึ่งสามารถป้องกันโรคได้นาน 5 สัปดาห์ถึง 4 เดือน ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับภูมิคุ้มโรคในนํ้านมเหลืองและปริมาณนํ้านมเหลืองที่ลูกสุกรกินเข้าไป แต่ภูมิคุ้มกันโรคนี้ไม่สามารถป้องกันลูกสุกรจากการติดเชื้อไวรัสตัวนี้ได้ เพียงแต่ภูมิคุ้มกันโรคนี้จะป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสแทรกเข้าไปในเนื้อเยื่อของลูกสุกรได้เมื่อภูมิคุ้มกันโรคนี้ลดลง สุกรก็จะเริ่มไวต่อเชื้อไวรัสตัวนี้และเมื่อสุกรมีอาการเครียดเชื้อไวรัสภายในตัวก็จะเพิ่มจํานวนมากขึ้นและแทรกเข้าเนื้อเยื่อของร่างกาย ซึ่งเป็นผลให้สุกรตัวนั้นเริ่มแสดงอาการป่วยออกมาให้เห็น
การป้องกัน
โรคพิษสุนัขบ้าเทียม สามารถป้องกันได้โดย
1. ทําวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเทียมตามโปรแกรมที่กําหนดไว้ (ถ้ามีโรคนี้ระบาด)
2. มีการจัดการควบคุมโรคที่เข้มงวด
3. มีการสุขาภิบาลที่ดี
4. มีการเลี้ยงดูและอาหารที่ดี
5. มีการกักโรคและตรวจโรคสุกรใหม่
6. กําจัดหนูแมลงวัน นก แมวและสุนัขที่เข้ามาอยู่ในบริเวณฟาร์ม
โปรแกรมการทําวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเทียม
1. สุกรพ่อและแม่พันธุ์ ทําซํ้าทุกๆ 4-5 เดือน (วัคซีนเชื้อตาย) หรือทําวัคซีนกับแม่สุกรท้องก่อนคลอด 3 สัปดาห์และทําซํ้าอีกครั้งก่อนคลอด 1 สัปดาห์
2. สุกรรุ่น ทําวัคซีนเมื่ออายุประมาณ 8-9 สัปดาห์ และให้ทําวัคซีนซํ้าอีกครั้งใน 2 สัปดาห์
การรักษา
โรคพิษสุนัขบ้าเทียมเกิดจากเชื้อไวรัส ไม่มียาที่จะใช้รักษาโดยเฉพาะ นอกจากจะรักษาตามอาการ (ลูกสุกรมักตาย จึงไม่แนะนําให้รักษา)