โรคปากและเท้าเปื่อย
โรคนี้เป็นโรคระบาด ที่ระบาดได้อย่างรวดเร็วในสัตว์กีบ (วัว ควาย แพะ แกะและสุกร) และทําความเสียหายแก่เศรษฐกิจของประเทศอย่างมากเพราะในโรคนี้เป็นอุปสรรคต่อการส่งสุกรออกจําหน่ายในต่างประเทศ โรคนี้พบเป็นได้กับสุกรทุกอายุ อัตราการเกิดโรคสูงแต่อัตราการตายตํ่า
สาเหตุและอาการของโรค
เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งมีอยู่ 3 กลุ่มด้วยกันคือ ไทป์โอ,ไทป์เอ และ ไทป์เอเชียวัน (ไทป์โอรุนแรงที่สุด) เชื้อโรคตัวนี้จะเข้าสู่ร่างกายสุกรได้โดยทางการสัมผัสกับเชื้อโดยตรง (คนเลี้ยงนําเข้ามาเอง) หรือโดยการกินอาหารและนํ้าที่มีเชื้อโรคปนอยู่ หรือโดยการหายใจเอาเชื้อโรคตัวนี้เข้าไป และเมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายสุกรแล้ว จะใช้เวลาในการฟักโรคนานประมาณ 3-6 วัน สุกรก็จะเริ่มแสดงอาการโรคนี้ออกมาให้เห็น อาการที่พบได้คือ มีตุ่มนํ้าใสที่บริเวณปลายจมูก ปาก ริมฝีปาก เหงือกและผิวหนังบริเวณไรกีบ และต่อมาตุ่มนํ้าใสนี้จะแตก ซึ่งนํ้าในตุ่มนี้จะมีเชื้อไวรัสอยู่เป็นจํานวนมาก ถ้าการจัดการไม่ดีโรคนี้ก็จะกระจายระบาดออกไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังพบอาการ ไข้สูง เบื่ออาการ นํ้าลายยืดขาเจ็บและนํ้าหนักลด (เนื่องจากกินอาการไม่ได้) และบางครั้งอาจพบกีบลอกหลุด
แม่สุกรเลี้ยงลูกที่เป็นโรคนี้จะพบตุ่มนํ้าใสที่หัวนมด้วยในกรณีที่สุกรป่วยด้วยโรคนี้ ซึ่งไม่เคยมีประวัติการทําวัคซีนมาก่อน จะพบอาการของโรครุนแรงกว่าสุกรที่เคยทําวัคซีน และอัตราการตายของลูกสุกรและสุกรเล็กอาจสูงถึง 50 เปอร์เซ็นต์(ลูกสุกรหรือสุกรเล็กที่ตาย จะพบรอยโรคที่หัวใจซึ่งคล้ายๆ กับลายเสือ)สุกรป่วยที่ฟื้นจากโรคนี้จะพบว่ามีภูมิคุ้มกันโรคเฉพาะกลุ่มของไวรัสที่ทําให้เกิดการป่วยเท่านั้น ซึ่งสามารถป้องกันโรคได้นานประมาณ 90-180 วัน และแม่สุกรสามารถถ่ายภูมิคุ้มกันโรคนี้ให้แก่ลูกสุกรได้โดยทางนํ้านมเหลือง ซึ่งคุ้มกันโรคได้นานหลายสัปดาห์
การป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย
สามารถป้องกันได้โดย
1. ทําวัคซีนปากและเท้าเปื่อยตามโปรแกรมที่กําหนดไว้
2. มีการจัดการควบคุมโรคที่เข้มงวด
3. มีการสุขาภิบาลที่ดี
4. มีการเลี้ยงดูและอาหารที่ดี
5. มีการกักโรคและตรวจโรคสุกรใหม่
6. มีการกําจัดแมลงวันและนก
โปรแกรมการทําวัคซีนปากและเท้าเปื่อย
1. ลูกสุกร ทําวัคซีนเมื่อสุกรอายุประมาณ 7 สัปดาหและใหทําวัคซีนซํ้าอีกครั้ง ในอีก2 สัปดาหตอมา
2. สุกรพ่อและแม่พันธุ์ทําซํ้าทุก 4-5 เดือน
การรักษา
โรคปากและเท้าเปื่อยเกิดจากเชื้อไวรัส ไม่มียาที่จะใช้รักษาโดยเฉพาะ แต่โรคนี้ไม่ทําให้สุกรป่วยตาย การรักษาจึงทําได้เพียงรักษาตามอาการโดย
1. ใช้ยาทิงเจอร์ไอโอดีน 5-10 เปอร์เซ็นต์ หรือยาเย็นเซี่ยนไวโอเล็ททาแผลที่เกิดจากตุ่มนํ้าใส
2. ให้ยาปฎิชีวนะผสมในอาหารเพื่อป้องกันโรคแทรกแก่สุกรตัวที่ยังไม่แสดงอาการและให้ยาโดยการฉีดเข้าสุกรตัวที่แสดงอาการแล้ว
3. พ่นนํ้ายาจุนสีที่มีความเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์ที่กีบ
หมายเหตุ สุกรที่ไม่แสดงอาการของโรคให้ทําวัคซีนซํ้า 2 ครั้ง ช่วงห่าง 1 สัปดาห์