ขั้นตอนการเลี้ยงสุกร ต้องประกอบด้วยทั้งหมด 4 อย่าง
1 สายพันธุ์
2 โภชนาการ
3 การจัดการ
4 โรค
แนวโน้มการเลี้ยงสุกรในอนาคต
จากสถานการณ์ ในปีที่ผ่านมา สุกรขาดตลาดไปมากทั้งเจอภัยธรรมชาติและสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ทำให้สุกรสูญเสียไปมาก ทำให้ราคาสุกรสูงขึ้น และคาดการ ปริมาณสุกรเนื้อจะออกสู่ตลาดน้อย ถ้าการส่งออกสุกรไปยังประเทศเพื่อนบ้านยังไม่ลดลง ก่าลังซื้อของประชาชนยังมีอยู่ ราคาสุกรในปีหลังก็ไม่น่ามาปัญหา แม้จะเจอวิกฤตบ้างในบ้างช่วง
ประเภทและพันธ์สุกร
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามการใช้ประโยชน์ คือ
ประเภทมัน เป็นสุกรรูปร่างตัวสั้น มีไขมันมาก กินเยอะ สะโพกเล็ก โตช้า เช่น สุกรพันธุ์ที่มีในพื้นเมือง และสุกรขุนนำมาทำแม่พันธุ์
ประเภทเนื้อ ร่างจะสั้นกว่า ไขมันบาง สะโพกและไหล่ใหญ่ สันหลังกว้าง เด่นชัด ลำตัวหนาและลึก อัตราการกินน้อย ให้ปริมาณเนื้อมาก ได้แก่ พันธุ์ เฟอร์ไลน์ แฮมเเชียร์ เปียแตรง เป็นต้น
ประเภทเบคอน รูปร่างใหญ่ กระดูกใหญ่ ตัวจะยาว ไขมันน้อย ความหนาและความลึกของลำตัวน้อยกว่าประเภทเนื้อ ได้แก่ พันธุ์แลนด์เรซ ลาร์จไวท์ เป็นต้น
สายพันธุ์
มีหลายสายพันธุ์ ที่แนะนำ
1 เฟอร์ไลน์ GGP เกิดจากพันธุกรรมหลายสายพันธุ์เพื่อหาจุดเด่นอย่างลงตัวคุณภาพซาก สีเนื้อมีการปรับปรุงปริมาณไขมันแทรกในเนื้อทนต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ลูกดก น้ำหนักหย่านม การโตเลี้ยงลูกเก่ง เต้านมสวยน้ำนมมากแสดงอากาศเป็นสัดเด่นชัด กระดูกและ ศีรษะเล็ก ไขมันบาง เลี้ยงง่าย โตเร็ว ถ่ายทอดพันธุกรรมเด่นชัดการกินน้อยหย่านมเร็ว เชื่องเลี้ยงลูกเก่งอัตราการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 900-1000 กรัม เพื่อเป็นต้นแบบผสมเฟอร์ไลท์ 70 เป็นสองสาย สันหลังกว้าง
2 เฟอร์ไลน์ 70(F70) เป็นพันธุกรรมทำให้เป็นหมูสองสายเกิดจากพันธุกรรมแท้ แก้ปัญหาเลือดชิดถ่ายทอดการเจริญเติบโตและส่งผลให้คุณภาพซากในหมูขุนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการมีชีวิตแรกคลอดและจำนวนลูกต่อครอกในสองสาย(F 46) ช่วยลดปริมาณการกินอาหารของแม่พันธุ์ F46 ในขณะอุ้มท้องได้ครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับแม่พันธุ์สองสายโดยทั่วไป มีภูมิต้านทานสูง กินอาหารเก่ง เลี้ยงง่ายทำให้ต้นทุนต่ำ ลูกโตสม่ำเสมอ
3 แลนด์เรซ (LANDRACE) พัฒนามาจากสายอังกฤษ มีความเป็นแม่สูง ลำตัวยาว เพิ่มปริมาณน้ำนมให้เพียงพอต่อจำนวนลูกดกมาก โดยเฉลี่ย 14-18 ตัว โครงสร้างใหญ่ ขาแข็งแรง กระดูกเชิงกรานกว้าง ปีกมดลูกยาว เพื่อรองรับการฝังไข่ได้มากขึ้น มีความต้านทานโรคดี เลี้ยงง่าย โตเร็ว เชื่อง กินอาหารเก่ง เมื่อนำมาผสมกับยอร์คเชียร์เพื่อผลิตสองสาย จะให้ลูกดกมากเมื่อเทียบกับหมูพันธุ์ทั่วไปอัตราการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 1000-1200 กรัม
4 ยอร์คเชียร์ (YORK SHIRE) เป็นพันธุกรรมแท้พัฒนาจากลาร์จไวท์สายอเมริกา มีการถ่ายทอดลูกดี เปอร์เซ็นต์เนื้อแดงสูง โครงสร้างใหญ่ ขาแข็งแรง ใช้ผสมเพื่อเกิดเป็นสองสายให้กล้ามเนื้อในการถ่ายทอดไปยังหมูขุนได้ดี ต้านทานโรค เชื่อง มีความเป็นแม่สูง เลี้ยงง่ายโตเร็ว หนังและขนบาง มีคุณภาพซากที่ดี ให้ลูกดกใช้ผสมกับแลนด์เรชเพื่อผลิตสองสาย ขนมีสีขาวตลอดทั้งตัว ไหล่หนา หลังกว้าง กินอาหารระดับโปรตีน 16 โปรตีน
5 เฟอร์ไลน์ 46 (F 46) เป็นพันธุกรรมสองสายเกิดจากเฟอร์ไลน์ GGP ผสมเฟอร์ไลน์ 70 ทำให้มีจุดเด่น น้ำหนักแรกคลอดและน้ำหนักหย่านม โตเร็ว กินอาหารน้อย จำนวนลูกดก ต้านทานโรค แสดงอาการเป็นสัดเด่นชัด ความสมบูรณ์พันธุ์เร็วอยู่ระหว่าง 18-21 วัน หนังบาง ขนน้อย พื้นที่หน้าตัดกว้างอยู่ระหว่าง 45-50 ให้น้ำนมมาก หย่านมที่ 18 วัน เพื่อผลิตสุกรขุน เมื่อผสมกับ F 63 จะให้คุณภาพซาก 58.4 เปอร์เซ็นต์ ไขมันบางอยู่ระหว่าง 8-13 mm fcr=1.7
6 เฟอร์ไลน์ 93 (F 93) เกิดจากพันธุกรรมระหว่างเฟอร์ไลน์GGP และแลนด์เรซลักษณะจะเป็นสีขาวและมีจุดดำบ้างเล็กน้อย จะให้การเจริญเติบโตเร็ว เลี้ยงลูกเก่ง กินน้อย เชื่อง มีความเป็นแม่สูง ต้านทานโรค เมื่อผสม F63 จะให้ลูกมีกล้ามเนื้อใหญ่ ลักษณะลูกจะเป็นสีขาวล้วน ๆ เนื้อแน่นสีชมพู ไม่ช็อคง่าย ยาว กินอาหารเก่ง อัตราการแลกเนื้ออยู่ที่ 2.2-2.5 ไขมันสันหลังประมาณ 14-17 mm โครงสร้างไม่ใหญ่มาก
7 มิกซ์แมส(F 24) เกิดจากพันธุกรรมระหว่าง แลนด์เรซกับยอร์คเชียร์ จะให้ลูกดก ต้านทานโรคดี แข็งแรง กินอาการเก่ง เลี้ยงง่าย โตเร็ว เชื่อง แสดงอาการเป็นสัดเด่นชัด โครงสร้างขาแข็งแรง พื้นที่ในการฝังไข่ในปีกมดลูกมากขึ้น มีความเป็นแม่สูง น้ำนมมาก กินอาหารเก่ง เหมาะสำหรับภูมิอากาศในเมืองไทย
8 เฟอร์ไลน์ 63(F 63) เป็นหมูสายพ่อพันธุ์ สำหรับทำสายสุกรขุน ลักษณะเด่นการถ่ายทอดพันธุกรรมที่ชัดเจน ไขมันและหนังบาง อยุ่ระหว่าง 8-13 มม.เนื้อแดงสีชมพูค่อนข้างเข้ม เลี้ยงง่าย ต้านทานโรคดี แข็งแรง เพิ่มประสิทธิภาพการกินเก่งการโตสูงสุด 968 กรัม/วัน อัตราการแลกเนื้อ 1.7 เนื้อแดงสูง58% ไม่ช๊อคง่าย โครงสร้างกระดูกเล็ก และศีรษะเล็ก ถูกใจพ่อค้า เป็นสายพันธุ์ที่นิยมมากในขณะนี้ สามารถผสมได้กับทุกพันธุ์
9 เฟอร์ไซร์ 65 (F65) เป็นหมูพันธุ์ที่ถูกพัฒนาเพื่อเน้นคุณภาพซากและการเจริญเติบโต ลดโครงสร้างกระดูกเพื่อทำให้ไขมันบาง เนื้อแดงสีชมพู แข็งแรง เลี้ยงง่าย ภูมิต้านทานโรคสูง กินอาหารเก่ง หนังบาง โตเร็ว อัตราการเจริญเติบโต 1200 กรัมต่อวัน เชื่อง ไม่ช็อคง่าย เป็นพ่อพันธุ์ลักษณะสีขาว สามารถผสมกับพันธุ์อื่นทุกสายพันธุ์จะได้ลูกสุกรที่มีลักษณะสีขาวทั้งตัวไม่ว่าจะผสมกับF46,F93 ก็ตาม
10 ดูร๊อค ( F 67)เป็นสายพ่อหมูขุนได้พัฒนามาจากสายอเมริกาทำให้มี ไขมันบาง เนื้อแดงสีชมพูเนื้อละเอียด นุ่ม ไขมันแทรกพอประมาณ โครงสร้างกล้ามเนื้อเด่นชัด การโต มีภูมิต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ การเคลื่อนย้าย อัตราการเจริญเติบโต 1100 กรัมต่อวัน กล้ามเนื้อแดงใหญ่ เชื่อง ไม่ช็อคง่าย แข็งแรง เลี้ยงง่าย โตเร็ว เหมาะกับการผสมกับสองสาย (แลนด์เรซ+ลาร์จไวท์)
11 เฟอร์ไลน์ 47 (F 47) เป็นพันธุกรรมสองสายเกิดจากเฟอร์ไลน์ GGP ผสมเฟอร์ไลน์ 70.1 ทำให้มีจุดเด่น สีตัวมีสีขาวมากกว่าสีดำ เมื่อเทียบกับเฟอร์ไลน์ 46 โตเร็ว กินอาหารน้อย จำนวนลูกดก ต้านทานโรค แสดงอาการเป็นสัดเด่นชัด ความสมบูรณ์พันธุ์เร็วอยู่ระหว่าง 18-21 วัน หนังบาง ขนน้อย ให้น้ำนมมาก หย่านมที่ 18 วัน อัตราการแลกเนื้อ 1.7 เพื่อผลิตสุกรขุน เมื่อผสมกับ F 63 จะได้ลูกสุกรขุนมีสีขาวมากกว่าดำ
โภชนาการ
ต้องดูช่วงอายุ การให้สุกรกิน
แรกเกิด ควรจะให้ยาปฎิชีวนะเพื่อป้องกันลูกสุกรท้องเสีย
แรกเกิด โปรตีน 20%ขึ้นไป(แลค)
น้ำหนัก 15 กิโล โปรตีน 20%
น้ำหนัก 25 กิโล โปรตีน 18%
น้ำหนัก 45 กิโล โปรตีน 16%
น้ำหนัก 60 กิโล โปรตีน 15%
น้ำหนัก 90 กิโล โปรตีน 14%
สุกร รอจับ โปรตีน 12%
การจัดการการเลี้ยงสุกร
ตั้งแต่สถานที่เลี้ยง ออกแบบสภาพโรงเรือนให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่ควรให้มีลมพัดแรงจนเกินไป ถ้าโรงเรือนมีแสงแดดส่องหรือฝนสาดควรใช้ผ้าแสลมบังลมและฝน อย่าให้หมูเกิดความเครียดเช่น อากาศร้อนเกินไปหรือหนาวเกินไป อุณหภูมิไม่ควรแตกต่างกันเกิน 2 องศา กระแสลม 9 เมตร/วินาที ทิศทางการขึ้นของพระอาทิตย์โรงเรือนควรตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ยาวไปทางทิศตะวันตก น้ำดื่มอย่าให้ร้อนจนเกินไปเพราะจะทำให้มีเชื้อ อีโคไรท์ สาเหตุที่ทำให้ลูกสุกรท้องเสีย หรือป่วยง่าย การฉีดอย่ารักษาโรค ควรฉีดในเวลาที่อากาศไม่ร้อน เช่น ช่วงเช้า หรือช่วงเย็น การผสมพันธุ์ก็เช่นกัน ควรจะผสมช่วงเช้าและช่วงเย็นและควรทำความสะอาดทั้งตัวพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์โดยวิธีการอาบน้ำเพื่อให้พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ไม่เกิดความเครียด ทำให้อัตราการผสมติดสูง
การป้องกันไม่ให้เกิดโรคระบาด
การทำวัคซีนสำหรับสุกรแรกเกิดเพื่อป้องกันโรคระบาด ควรจะมีการทำวัคซีนตั้งแต่สุกรแรกเกิดไปจนถึงแม่พันธุ์และพ่อพันธุ์ และควรมีการทำโปรแกรมวัคซีน และควรเลือกใช้วัคซีนที่มีคุณภาพไม่ว่าจะเป็นเชื้อเป็นหรือเชื้อตาย